Web 3.0
เป็นการนำแนวคิดของ Web 2.0 มาทำให้ Web นั้นสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งทุกวันนี้ผู้ใช้ทั่วไปที่เป็นผู้สร้างเนื้อหาได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น เช่น การเขียน Blog, การแชร์รูปภาพและไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ ทำให้ข้อมูลมีจำนวนมหาศาล ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องมีความสามารถในการจัดการข้อมูลดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเอาข้อมูลเหล่านั้นมาจัดการให้อยู่ในรูปแบบ Metadata หรือ ข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (Data about data) ทำให้เว็บกลายเป็น Semantic Web หรือเว็บที่ใช้ Metadata มาอธิบายสิ่งต่างๆบนเว็บ ซึ่งในตอนนี้จะเห็นกันทั่วไปในรูปของ Tag นั่นเอง ถ้าจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง Semantic Web คือ การรวมควบรวมกันของฐานข้อมูลแบบอัตโนมัติโดยใช้การคาดเดา และหลักทางคณิตศาสตร์เข้ามาช่วย ซึ่งผลลัพธ์ของ Application ที่สร้างขึ้นบน Semantic Web จะถูกส่งไปยังอินเทอร์เน็ต และส่งต่อไปยัง Web Browser เช่น Internet Explorer, Fire Fox เป็นต้น โดยเว็บเบราเซอร์ อาจจะถูกฝังตัวอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ ตู้เย็นโทรทัศน์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งอุปกรณ์ที่ถูกฝังเว็บเบราเซอร์ไว้ในตัวนั้นส่วนใหญ่จะสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้
ส่วน Tag คือ คำสั้นๆ หลายๆ คำ ที่เป็นหัวใจของเนื้อหา ทำให้สามารถเข้าถึงเนื้อหาอื่นๆ หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น แต่แทนที่ผู้ผลิตเนื้อหาจะต้องใส่ Tag เอง ตัวเว็บจะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น จากนั้นจะขึ้น Tags ให้ตามความเหมาะสมแทนโดยข้อมูลแต่ละ Tag จะมีความสัมพันธ์กับอีก Tag หนึ่งโดยปริยาย เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท Apple ก็จะมี Tag ที่เกี่ยวกับ Computer, iPod, iMac … และ Tag ที่มีเนื้อหา Computer ก็มี Tag ที่เชื่อมโยงกับ Tag ที่มีเนื้อหาด้าน Electronic โดย จะเชื่อมโยงแบบนี้ไปเรื่อยๆ ทำให้ข้อมูลมีการเชื่อมโยงกัน อินเทอร์เน็ตกลายเป็นฐานข้อมูลความรู้ขนาดใหญ่ ที่ข้อมูลทุกอย่างถูกเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบมากขึ้น
แม้ว่าเว็บไซต์ใหญ่ๆ อย่าง Google, Amazon.com และ eBay ต่างก็ให้ความสนใจที่จะปรับเปลี่ยนไปใช้ Web 3.0 นอกจากนั้นก็ยังมีเว็บไซต์อีกมากที่จะปรับเปลี่ยนไปใช้ด้วยเช่นกัน เช่น WebEx, WebSideStory, NetSuite, Jamcracker, Rearden Commerce และ Salesforce.com รวมไปทั้ง Youtube, Flickr, MySpace หรือ del.icio.us เว็บไซต์ที่เป็น Web 3.0 ไม่ได้มีไว้ใช้งานเฉพาะเพื่อการช้อปปิ้ง ความบันเทิง หรือการค้นหาข้อมูลเท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างแอพพลิเคชั่นสำหรับการทำธุรกิจในรูปแบบใหม่ได้ด้วย อีกทั้งยังจะเป็นการสร้างผู้เล่นหน้าใหม่ๆ ในวงการออนไลน์ รวมทั้งยังสร้างผู้นำหน้าใหม่ ที่จะมามีอิทธิพลในอุตสาหกรรมออนไลน์ต่อไป
ความแตกต่างระหว่าง web 2.0 และ 3.0
ถ้าแบ่งยุคของ Internet ในตอนนี้อาจแบ่งได้ 2 ยุค และเรากำลังก้าวไปสู่ยุดที่ 3 ในไม่ช้านี้ ในยุดแรก Web 1.0 นั้นเป็นเรื่องของการที่ผู้ให้บริการนำเสนอข้อมูลให้กับบุคคลทั่วไป โดยทำในลักษณะเดียวกับหนังสือทั่วไป ที่ผู้อ่านมีส่วนร่วมน้อยมากในการเติมแต่งข้อมูล แต่ในยุคของ Web 2.0 บุคคลทั่วไปคือผู้สร้างเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ จาก Web 2.0 ในเปลือกนัท ทำให้เราเข้าใจว่าในยุคที่ 2 นั้นเป็นเรื่องของการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง โดยการสร้างเสริมข้อมูลสารสนเทศ ให้มีคุณค่าและมีข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด ดังตัวอย่างที่เป็นสิ่งที่ทุกคนคงรู้จักกันดีอย่าง Wikipedia ทำให้ความรู้ถูกต่อยอดไปอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลทุกอย่างได้มาจากการเติมแต่งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เกิดจากการคานอำนาจของข้อมูลของแต่ละบุคคลทำให้ข้อมูลนั้นถูกต้องมากที่สุด และจะถูกมากขึ้นเมื่อเรื่องนั้นถูกขัดเกลามาตามระยะเวลายาวนาน
วันนี้ Web 3.0 กำลังจะมา เป็นการนำแนวคิดของ Web 2.0 มาทำให้ Web นั้นสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมาก ๆ โดยอย่างที่เรารู้กันดีว่าผู้ใช้ทั่วไปนั้นเป็นผู้สร้างเนื้อหาได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น เช่นการเขียน Blog, การแชร์รูปภาพและไฟล์มัลติมีเดียต่าง ๆ ทำให้ข้อมูลมีจำนวนมหาศาล ทำให้จำเป็นต้องมีความสามารถในการข้อมูลดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยเอาข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นมาจัดการให้อยู่ในรูปแบบ Metadata ที่หมายถึงข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (Data about data) ทำให้เว็บกลายเป็น Sematic Web กล่าวคือเว็บที่ใช้ Metadata มาอธิบายสิ่งต่าง ๆ บนเว็บ ซึ่งในตอนนี้เราจะเห็นกันทั่วไปนั่นคือ Tag นั้นเอง โดยที่ Tag ก็คือคำสั้น ๆ หลาย ๆ คำ ที่เป็นหัวใจของเนื้อหา เพื่อทำให้เราสามารถเข้าถึงเนื้อหาต่าง ๆ ได้ด้วยการใช้ Tag ต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แต่แทนที่ผู้ผลิตเนื้อหาจะใส่เอง แต่ตัว Web จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น แล้วให้ Tags ตามความเหมาะสมให้เราแทน
อนาคต web 3.0
1. Artificial Intelligence (AI) คือ เครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยคาดเดาพฤติกรรมของมนุษย์ ช่วยวิเคราะห์ความต้องการของมนุษย์ ซึ่งการคิดค้นเครื่องมือต่างๆ ขึ้นมามีวัตถุประสงค์เพื่อเข้ามาช่วยในการทำงานอย่างอัตโนมัติ
2. Automated Reasoning คือ การสร้างระบบคอมพิวเตอร์ให้มีการประมวลผลด้วยความชาญฉลาดสมเหตุสมผลอย่างอัตโนมัติ โดยใช้ตรรกะ และหลักการทางคณิตศาสตร์เข้ามาช่วยวิเคราะห์ และประมวลผล
3. Cognitive Architecture ถือเป็นแผนงานสำหรับ Intelligent Agents ด้วยการนำเสนอระบบประมวลผลคอมพิวเตอร์ที่มีการทำงานเหมือนกัน มีรากฐานมาจากที่เดียวกัน โดยอาจจะสร้างเครื่องมือในโลกเสมือนขึ้นมาให้ใช้งานได้เหมือนกับการทำงานในโลกของความเป็นจริง เช่น การสร้างสมองกล (Computer) ขึ้นให้ใช้งานเหมือนกับสมองของคน (Brain) จริงๆ
4. Composite Applications เป็น Application ที่สร้างขึ้นมาจากการผสมผสานบริการ หรือ Application ที่ หลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน โดยเป็นบริการที่มาจากแหล่งต่างๆ ที่อาจจะเป็นบริการแบบเดียวกัน หรือต่างกันก็ได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วจะสร้างประโยชน์ และประสิทธิภาพในการใช้งานให้เพิ่มมากขึ้น
5. Distributed Computing คือ การใช้คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่อง ขึ้นไปที่สามารถสื่อสารถึงกันได้บนเครือข่ายเข้ามาช่วยกันประมวลผล โดยวิธีการประมวลผลของคอมพิวเตอร์จะใช้ส่วนที่แตกต่างกันของโปรแกรมเข้ามา ช่วยประมวลผลในการทำงาน ซึ่งอินเทอร์เน็ต ถือเป็นระบบเครือข่ายอย่างหนึ่ง และยังมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย
6. Human-based genetic algorithms คือ กระบวนการที่อนุญาตให้มนุษย์สามารถสร้างโซลูชั่น หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาได้เอง ซึ่งทำให้มนุษย์สามารถเชื่อมโยงกันตั้งแต่แรกเริ่ม, สามารถเปลี่ยนแปลง และเกี่ยวพันถึงกันได้ โดยการเชื่อมโยงกันสามารถทำได้หลายรูปแบบ แล้วแต่ความต้องการ
7. Knowledge Representation เป็นวิธีการในโปรแกรมระบบที่ใช้การเข้ารหัสและเก็บความรู้ไว้ในฐานความรู้
8. Ontology Language หรือ OWL ย่อมาจาก Web Ontology Language คือภาษาที่ใช้อธิบายถึงข้อมูลในเว็บไซต์ในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ โดยดูจากความหมายของสิ่งนั้นๆ ซึ่งถือว่า OWL เป็นภาษากลางในการกำหนด metadata ให้กับเว็บไซต์แต่ละแห่ง ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
9. Scalable Vector Graphics (SVG) เป็นฟอร์แมต XML ที่นิยามวัตถุในภาพวาดด้วย point, path และ shape พื้นฐาน โดยมีสี, ฟอนต์, ความกว้างของ stroke ฯลฯ เป็นสไตล์ของวัตถุ จุดประสงค์ของ SVG คือเป็นมาตรฐานที่ใช้ได้กว้างขวางในหลากหลายโปรแกรม
10. Semantic Web เป็น เว็บที่สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายของข้อมูลที่อยู่บนหน้าจอของเว็บไซต์ช่วย ให้คอมพิวเตอร์สามารถค้นหาข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังสามารถสร้างความสัมพันธ์ใหม่ให้กับข้อมูลที่มาจากแหล่งข้อมูลที่มาจาก แหล่งข้อมูลที่ต่างกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นฐานข้อมูลที่ถูกเชื่อมโยงกันทั่วโลก
11. Semantic Wiki สามารถ ให้ข้อมูลเฉพาะคำที่เราต้องการได้ ด้วยการใช้การอธิบายข้อมูลซ้อนข้อมูลอีกที รวมทั้งให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำที่เราต้องการ โดยข้อมูลที่นำมาอธิบายอาจจะมาจากเว็บอื่นๆ ไม่ได้มาจากฐานข้อมูลของเว็บนั้นเพียงอย่างเดียว
12. Software Agent เป็น โปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่างๆ อย่างมีเหตุผลเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น เอเจนต์ในระบบขับรถอัตโนมัติ ที่มีเป้าหมายว่าต้องไปถึงเป้าหมายในระยะทางที่สั้นที่สุด ต้องเลือกเส้นทางที่ไปยังเป้าหมายที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้ จึงจะเรียกได้ว่า เอเจนต์กระทำอย่างมีเหตุผล อีกตัวอย่างเช่น เอเจนต์ในเกมหมากรุก ที่มีเป้าหมายว่าต้องเอาชนะคู่ต่อสู้ ก็ต้องเลือกเดินหมากที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้
หลังจากที่แนวคิดของ Web 2.0 ใช้ได้ผลอย่างจริงจังกับการเกิดบล็อกขึ้นมากมายหลาย 10 ล้านบล็อกและเกิดเว็บใหญ่ๆ ที่มี User's Content Driven อีกหลายแห่ง วันนี้จึงมีการหยิบยกทฤษฎีของ Web 3.0 มาพูดคุยกันบ้างแล้ว จากการที่ Web 2.0 จะ มีข้อมูลมากมายมหาศาลอย่างที่โลกนี้ไม่เคยพบมาก่อน ก็จะต้องมีการจัดการข้อมูลที่ดี ยุติธรรม และเป็นระเบียบเรียบร้อย จึงเกิดเป็นแนวคิดหลักของทฤษฎี Web 3.0 ขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น